วัตถุประสงค์

 

    

เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาที่เข้ามาปฏิบัติงานในงานที่มีความเสี่ยงอันตรายหรืองานที่อาจก่อให้เกิดเหตุฉุกเฉินหรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

เพื่อป้องกันให้การดำเนินงานในระบบบริหารคุณภาพและระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดเหตุฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิผล

 

 

เพื่อให้การควบคุมเอกสารและการควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาและการป้องกันและระงับเหตุมีการบันทึก และตรวจสอบเป็นไปตามมาตรฐานในขอบเขตของระบบ ISO14001 ของ บริษัท เค.เอส.พริ้นท์ แอนด์ แพคเกจจิ้ง จำกัด

ขอบเขต

 

 •   

ครอบคลุมกิจกรรมของผู้รับเหมาที่เข้ามาปฏิบัติงานในงานที่มีความเสี่ยงอันตรายหรืองานที่อาจก่อให้เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้แก่ การซ่อมบำรุงการรับ-ส่ง และการจัดเก็บเชื้อเพลิง หรือสารเคมีวัตถุอันตรายการก่อสร้างซ่อมแซมหรือต่อเติมระบบสาธารณูปโภคการนำขยะไปบำบัด เป็นต้น

 

ครอบคลุมในการปฏิบัติการจัดการภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นภายในบริษัท เค.เอส. พริ้นท์ แอนด์       แพคเกจจิ้ง จำกัด

นิยาม

 •    

องค์กร หมายถึง บริษัท เค.เอส.พริ้นท์ แอนด์ แพคเกจจิ้ง จำกัด

 •  

ผู้รับเหมา หมายถึง หน่วยงาน หรือบุคคลที่ได้รับการติดต่อ ว่าจ้าง ให้มาปฏิบัติงาน หรือส่งมอบผลิตภัณฑ์ภายใน  องค์กร

 •  

ภาวะฉุกเฉิน หมายถึง ภาวะสถานการณ์ต่างๆ ที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้คาดคิดหรือรู้ล่วงหน้ามาก่อน ได้แก่ การเกิด สารเคมีหกรั่วไหล เกิดเหตุเพลิงไหม้

การควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับเหมา

  • การอนุญาตให้ผู้ประกอบการเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ขององค์กร

หัวหน้างาน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จัดทำรายงานการอนุญาตให้ ผู้รับเหมา เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ ก่อนถึงวันที่เริ่มปฏิบัติงาน (แนบแบบฟอร์มการอนุญาตทำงานสำหรับผู้รับเหมา) 

  • ข้อปฏิบัติของ ผู้ที่เกี่ยวข้อง  ในการควบคุมการปฏิบัติงานของผู้รับเหมา

1)   

หัวหน้างาน และหรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย จัดให้มีการประชุมชี้แจงนโยบาย ระเบียบ ข้อปฏิบัติขององค์กรต่อตัวแทนของผู้รับเหมาก่อนหรือในวันแรกของการปฏิบัติงาน

2)

ผู้รับเหมาปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบ และข้อปฏิบัติสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัยขององค์กร

3)

จัดให้มีแผน และขั้นตอนการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับกิจกรรม หรือโครงการ ตลอดจนฝึกอบรม หรือชี้แจงให้กับบุคลากรของผู้รับเหมา

4)

จัดให้มี ผู้ควบคุมงาน กำกับดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากรของผู้รับเหมาตลอดเวลา

5)

จัดให้มี อุปกรณ์ เครื่องมือในสภาพที่ดี และเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงาน

6)

จัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยภายหลังเสร็จสิ้นจากการปฏิบัติงานในแต่ละวัน

7)

จัดให้มีป้ายเตือนให้ระวังอันตราย และหรือเอกสารที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานเช่นขั้นตอนการปฏิบัติงานรายงานการอนุญาตให้เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่แบบแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย (MSDS) เป็นต้น

8)

กำหนดขอบเขตในการปฏิบัติงาน โดยจัดให้มี ป้าย รั้ว หรือเชือกกั้นบริเวณสถานที่ปฏิบัติงาน

9)

จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอุปกรณ์ระงับเหตุฉุกเฉินรวมทั้งอุปกรณ์ทำความสะอาดที่เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน เช่น  แว่นตา ถุงมือ รองเท้า เชือกนิรภัย ถังดับเพลิงชนิดมือถือวัสดุดูดซับไม้กวาดเป็นต้น

10)

จัดให้มีการคัดแยก และการจัดการของเสียที่สอดคล้องกับข้อกำหนดการจัดการสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 

  » 

ขยะทั่วไป ให้ทิ้งลงในภาชนะที่องค์กรจัดไว้

  »

ขยะอันตราย หรือวัสดุปนเปื้อนสารเคมีวัตถุอันตราย ให้เป็นความรับผิดชอบของผู้รับเหมาในการนำขยะอันตราย ออกจากพื้นที่ไปกำจัด หรือบำบัดตามวิธีที่กฎหมายกำหนด

11)

การดำเนินการอื่นๆ ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

  • การตรวจประเมินผู้รับเหมา

หัวหน้างาน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จัดให้มีผู้รับผิดชอบในการตรวจประเมินผลผู้รับเหมาในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 ครั้ง บันทึกข้อมูล และ รายงานผลต่อ MR ตามแบบการอนุญาตทำงานสำหรับผู้รับเหมา

 

                                                                                    

 

การปฏิบัติงานป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน

การจัดการผู้รับผิดชอบ และหน้าที่ของคณะทำงานป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉิน

  

1) 

ผู้อำนวยการระงับเหตุฉุกเฉิน

   • 

สั่งการให้มีการเตรียมพร้อมต่อเหตุฉุกเฉินและใช้แผนควบคุมเหตุฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุ

   •  

สั่งการและขอความร่วมมือให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง/พนักงานมาช่วยเหลือในการควบคุมอัคคีภัย

   • 

สั่งการ/มอบอำนาจ ในการติดต่อขอความช่วยเหลือจากภายนอกโรงงาน

2)

ผู้จัดการทีมปฏิบัติการ

 

 •   

ประสานงานและสื่อสารทีมตอบโต้เหตุฉุกเฉิน ทีมไฟฟ้า ทีมตรวจสอบพื้นที่ และทีมจัดหาและขนย้ายในการระงับเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในบริษัท

 

 •

รายงานสถานการณ์ของเหตุฉุกเฉิน, รับคำสั่งจากผู้อำนวยการดับเพลิง

 

 •

ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เข้ามาช่วยเหลือในการระงับเหตุ 

3)

ทีมตอบโต้เหตุฉุกเฉิน

 

 •

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะแยกตัวออกจากพื้นที่ทำงานของตนเองเข้าไปดำเนินการระงับเหตุ ณ ที่เกิดเหตุทันที ภายใต้คำสั่งของผู้จัดการทีมปฏิบัติการ

4)

ทีมไฟฟ้า

 

 •

ช่วยเหลือในการตัดกระแสไฟฟ้าตามที่ได้รับแจ้งจากผู้จัดการทีมปฏิบัติการ หรือผู้ควบคุมดับเพลิง

5)

ทีมตรวจสอบพื้นที่

 

 •

ทำการสำรวจและค้นหาพนักงานที่สูญหายขณะเกิดเหตุหรือได้รับแจ้งจากทีมอพยพในพื้นที่โรงงาน

6)

ผู้จัดการทีมสนับสนุน

 

 •

ประสานงานและสั่งการทีมอพยพ

 

 •

อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย วัสดุและเครื่องจักรการผลิต

7)

ทีมปฐมพยาบาล

 

 •

ปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บและตัดสินใจส่งผู้บาดเจ็บขั้นรุนแรงไปยังสถานพยาบาลภายนอก

 

 •

ติดต่อประสานงานกับสถานพยาบาลภายนอก เพื่อเตรียมรถพยาบาลฉุกเฉินให้พร้อมที่จะช่วยเหลือได้ตลอดเวลา

 

 •

ป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้ามาในบริษัท

8)

ทีมสื่อสารและศูนย์รวมข่าว

 

 •

ตะโกนบอก / กดสัญญาณฉุกเฉิน ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้หรืออพยพ

 

 •

ติดตามและบันทึกสถานการณ์ที่ได้รับรายงานจากทีมต่างๆ ให้กับผู้อำนวยการระงับเหตุฉุกเฉิน

 

 •

ติดต่อขอความช่วยเหลือจากภายนอก เมื่อได้รับคำสั่งจากผู้อำนวยการดับเพลิง

 

 •

ควบคุมตู้แจ้งสัญญาณฉุกเฉิน และประสานงานกับผู้ควบคุมการดับเพลิง และผู้อำนวยการดับเพลิงในการกดสัญญาณ Silence

การจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อระงับเหตุ

1)  ถังน้ำยาเคมีดับเพลิง                     2)  ถุงมือหนัง 3)  ผ้าปิดจมูก
4)  แว่นตา 5)  ชุดป้องกันสารเคมี                    6)  วัสดุดูดซับสารเคมี

แผนป้องกันและตอบโต้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

1) 

การเตรียมความพร้อมกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้

 

 • 

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) บริหาร ผู้เสนอโครงสร้างและหน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะควบคุมและระงับเหตุฉุกเฉินให้กรรมการผู้ จัดการอนุมัติ

 

 •  

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป) หัวหน้างาน มีหน้าที่จัดเตรียมถังดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิงให้เพียงพอและเหมาะสมกับพื้นที่รวมทั้งทำการตรวจสอบสภาพ ทุก 3 เดือนร่วมกับ ผู้ส่งมอบ ดังนี้

ตรวจสอบเกจแรงดันถัง
สลักต้องติดอยู่ที่ถัง
◊  ตรวจสอบสภาพถัง
ทำความสะอาดถัง
ตรวจสายฉีดไม่อุดตันและไม่ชำรุด

2)

จัดทำแผนผัง

 

 

◊  สัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน
ไฟฉุกเฉิน
เส้นทางอพยพหนีไฟ
ตำแหน่งติดตั้งถังดับเพลิง
3)

จัดทำแผนและบันทึกผลการฝึกอบรม

 

 

◊  ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อพนักงานพบเหตุเพลิงไหม้
การดับเพลิงและการอพยพ
ผู้จัดการฝ่ายวางแผนและฝ่ายผลิตจัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงรวมทั้งไฟฉุกเฉินให้พอเพียง และดำเนินการตรวจสอบสภาพตามแผนที่กำหนด

การควบคุมและระงับเหตุฉุกเฉินเพลิงไหม้

1)

การปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ระดับที่ 1 พนักงานที่พบเหตุเพลิงไหม้ ควรปฏิบัติดังนี้

 

 •

ตะโกน "ไฟไหม้ " เพื่อบอกเพื่อนร่วมงาน หรือหัวหน้างานที่อยู่ใกล้ที่สุดให้เข้ามาช่วย

 

 •

กดสัญญาณไฟ ALARM ที่อยู่ใกล้ที่สุด

 

 •

ดำเนินการดับเพลิง โดยใช้ถังดับเพลิงเคมีที่มีอยู่ในพื้นที่

 

ถัง

ชนิด

ดับเพลิง

สีแดง

ผงเคมีแห้ง/คาร์บอนไดออกไซด์

ทั่วไป

 

2)

หัวหน้า/พนักงานประจำแผนกหรืออยู่ในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ควรปฏิบัติดังนี้

 

 •

ส่วนหนึ่งต้องเข้าไปดำเนินการดับเพลิงและตัดกระแสไฟฟ้าในพื้นที่ที่เกิดเหตุทันที โดยหัวหน้าหรือพนักงานตอบโต้เหตุฉุกเฉินเป็นผู้ควบคุมการดับเพลิงขั้นต้น และตัดกระแสไฟฟ้า

 

 •

อีกส่วนหนึ่ง (ถ้ามี) ให้หยุดการผลิตและช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหรือขนย้ายสิ่งที่จำเป็นออก ตามคำสั่งของผู้ควบคุมดับเพลิงข้างต้น

3)

ผู้ควบคุมการดับเพลิง พิจารณา

 

 •

ให้ทีมผจญเพลิงนำถังดับเพลิงเคมี/ท่อน้ำดับไฟเข้าดำเนินการดับเพลิง

 

 •

ให้ทีมไฟฟ้า ดำเนินการตัดกระแสไฟในพื้นที่ที่เกิดเหตุ

 

 •

ขอกำลังพลช่วยเหลือในการขนย้าย หรือทำหน้าที่อื่น ๆ โดยแจ้งผ่านผู้อำนวยการดับเพลิง

4)

ผู้อำนวยการระงับเหตุฉุกเฉิน

 

 •

ประจำอยู่ ณ ศูนย์อำนวยการดับเพลิงพร้อมกับอำนวยการดับเพลิง

 

 •

ประสานงานกับกลุ่มต่าง ๆ

5)

หัวหน้าทีมตอบโต้เหตุฉุกเฉินพิจารณาว่าสามารถดับไฟได้หรือไม่

 

 •

ถ้าสามารถดับเพลิงได้ ให้รายงานต่อผู้อำนวยการระงับเหตุฉุกเฉิน และติดต่อเจ้าหน้าที่แจ้งสัญญาณฉุกเฉิน ประกาศแจ้งเหตุเพลิงสงบ

 

 •

ถ้าไม่สามารถดับเพลิงได้ ให้รายงานต่อผู้อำนวยการระงับเหตุฉุกเฉิน รับทราบทันทีในกรณีที่เพลิงไหม้ทวีความรุนแรงขึ้นจนทีมผจญเพลิงไม่สามารถควบคุมไว้ได้ ผู้อำนวยการระงับเหตุฉุกเฉินพิจารณาแล้วใช้แผนปฏิบัติการเหตุเพลิงไหม้ระดับที่ 2

6) 

การอพยพหนีไฟ

 

 •

การประกาศแจ้งอพยพ เจ้าหน้าที่แจ้งสัญญาณฉุกเฉิน เมื่อได้รับแจ้งจากหัวหน้าทีมตอบโต้เหตุฉุกเฉินขั้นต้นว่าไม่สามารถดับเพลิงได้ แล้วให้กดสัญญาณไฟ SILEN (นาน 20 วินาที 2 ครั้ง โดยพัก 3 วินาทีก่อนกดครั้งที่ 2) พร้อมกับประกาศแจ้งให้พนักงานอพยพ

 

 •

การอพยพ

 »  เมื่อได้รับสัญญาณ Silence ให้พนักงานในพื้นนั้นๆหนีออกทางประตูหน้าบริษัท และประตูหนีไฟไปรวมพลที่จุดรวมพลหน้าบริษัท โดยหลีกเลี่ยงเส้นทางที่อาจเกิดอันตราย จากไฟไหม้พร้อมกับตรวจสอบรายชื่อพนักงาน
 »  ผู้ตรวจสอบพื้นที่ (ที่ได้รับการแต่งตั้ง) เป็นตัวแทนแต่ละพื้นที่ทำหน้าที่ตรวจสอบพื้นที่ และบริเวณต่างๆ เช่น ห้องเก็บของ ห้องน้ำ ฯลฯ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีพนักงานหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ที่รับผิดชอบพร้อมกับตรวจสอบอุปกรณ์ ไฟฟ้าและก๊าซว่ามีการเปิดหรือถอดปลั๊กเรียบร้อยหรือไม่ หลังจากเสร็จสิ้นให้ไปรวมกัน ณ จุดรวมพล
7) 

การปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ระดับที่ 2 (ขั้นรุนแรง) ดูรายชื่อผู้รับผิดชอบและการขอความ ช่วยเหลือ

 

 •

ผู้อำนวยการระงับเหตุฉุกเฉิน ได้รับรายงานจากหัวหน้าทีมตอบโต้เหตุฉุกเฉินและพิจารณาว่าไม่สามารถดับเพลิงได้ จำเป็นต้องตัดสินใจขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกโดยแจ้งให้เจ้าหน้าที่ประสานงานเป็นผู้ดำเนินการติดต่อ

 

 •

ผู้อำนวยการระงับเหตุฉุกเฉินแจ้งเจ้าหน้าที่ รปภ.นิติบุคคล รับรู้และเคลียร์เส้นทางการเข้ามาของหน่วยงานดับเพลิงภายนอก

 

 •

เมื่อทีมดับเพลิงภายนอกมาถึง ให้ผู้อำนวยการดับเพลิงชี้แจงสถานะพร้อมกับแจ้งหัวหน้าทีมผจญเพลิงเตรียมพร้อมประสานงานกับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงภายนอกในการดับเพลิงและเคลื่อนย้ายตามร้องขอ

 

 •

ผู้อำนวยการระงับเหตุฉุกเฉินประสานงานกับทีมปฐมพยาบาลเตรียมความพร้อมในการขอความช่วยเหลือจากภายนอก กรณีที่มีผู้บาดเจ็บ

การบรรเทาทุกข์และฟื้นฟูสภาพ 

ผู้อำนวยการระงับเหตุฉุกเฉินมอบหมายกิจกรรมและผู้รับผิดชอบตามตารางที่กำหนดไว้ข้างล่าง ดังนี้

หัวข้อกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ
1)  การสำรวจและประเมินความเสียหาย รวมทั้งการปรับปรุงสภาพเครื่องจักรและปัญหาการผลิต
 -  ผู้จัดการฝ่ายเจ้าของพื้นที่
 -  ผู้จัดการฝ่าย ประกันคุณภาพ
 -  ผู้จัดการฝ่ายวางแผน/ผลิต
2)  การติดตามและช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ
 -  ผู้จัดการฝ่ายสำนักงาน
3)  การตรวจสอบสภาพทางสิ่งแวดล้อมและบำบัดมลพิษที่ตกค้าง
 -  ผู้จัดการฝ่ายเจ้าของพื้นที่
 -  ผู้จัดการฝ่าย ประกันคุณภาพ 
4)  การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ
 -  กรรมการผู้จัดการ

  

รายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟู

คู่มือพนักงาน Rev: 01/03/2556

 

เอกสารสนับสนุน/แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง

 ที่ 

ชื่อเอการสนับสนุน / แบบฟอร์ม

รหัสเอกสาร

ผู้รับผิดชอบ

สถานที่จัดเก็บ

ระยะเวลาจัดเก็บ

1

แบบฟอร์มการอนุญาตทำงานสำหรับผู้รับเหมา

EP-PD-01 

PD

ศูนย์เอกสาร PD

4 ปี

2

รายชื่อผู้รับผิดชอบเหตุรุนแรง/ติดต่อขอความช่วยเหลือจากภายนอก

SD-PD-04

PD

ศูนย์เอกสาร PD

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง

3

ใบบันทึกรายงานสอบสวนอุบัติเหตุ

EF 0302

PD

ศูนย์เอกสาร PD

4 ปี

 

                                                                                     

  

1) 

การเตรียมความพร้อมในการจัดการสารเคมี/น้ำเสีย หรือกากสีรั่วไหล

 

 • 

ก่อนปฏิบัติการต้องแน่ใจว่าคุณสมบัติสารเคมีหกรั่วไหลเป็นอย่างไร และปฏิบัติการด้วยความระมัดระวังตามคำแนะนำในเอกสาร ความปลอดภัยสารเคมี SDS

 

 •

สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้เรียบร้อยทุกครั้ง ก่อนปฏิบัติการระงับเหตุ

2)

การควบคุมการแพร่กระจาย มีวิธีการ ดังนี้

 

 •

ใช้วัสดุดูดซับปิดกั้นรอบแนวที่สารเคมีหกรั่วไหล เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่กระจายเป็นบริเวณกว้าง

 

 •

แก้ไขภาชนะที่ล้ม หรือรั่ว ถ้าสามารถทำได้ เช่น ยกภาชนะตั้งขึ้น, อุดรอยแตกรั่ว เป็นต้น

 

 •

กักเก็บหรือรวบรวมวัสดุปนเปื้อนสารเคมี

 

 •

นำวัสดุที่ปนเปื้อนสารเคมีใส่ในภาชนะที่จัดเตรียมไว้ ปิดให้แน่น ป้องกันไอระเหยของสารเคมี 

 

 •

กรณีสารเคมีรั่วไหลมากกว่า 1 ชนิด ห้ามให้วัสดุดูดซับปะปนกัน 

 

 •

นำวัสดุปนเปื้อนสารเคมีจัดเก็บในภาชนะและพื้นที่จัดเก็บที่เตรียมไว้ และส่งกำจัดตามกฎหมายต่อไป 

3)

ผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการระงับสารเคมีรั่วไหล ห้ามอยู่ในบริเวณที่หกรั่วไหลให้หลีกเลี่ยง การสัมผัสและระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ภายหลังการระงับเหตุรั่วไหล

4)

ให้ทำการระบายอากาศบริเวณที่สารเคมีหกรั่วไหล

5)

ตรวจสอบสารเคมีตกค้างให้แน่ใจว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัย จึงอนุญาตให้พนักงานเข้าปฏิบัติงานตามปกติ

 

                                         

       


 


                                                                                     

 

 

                                                                                      

 

 

Visitors: 79,775